• 342 Ekamai Rd, Bangkok 10110
  • Mon - Sun: 09:00 - 20:00
  • 44/1 Asoke-Dindaeng Rd, Bangkok 10310
  • Mon-Sun: 11:00 - 19:00
  • 16/7 North Sathorn Rd, Silom, Bangkok 10500
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00
  • 1025 Ploenchit Rd, Lumpini, Bangkok 10330
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00
  • 1416 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวง คลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00

Acne Solution ( โปรแกรมรักษาสิว )

Acne Solution ( โปรแกรมรักษาสิว )

dermaster-vitanmin03

สิว(Acne) คืออะไร?

สิว(Acne) นับเป็นตัวปัญหาใหญ่บนใบหน้าสวยๆ ของคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว ส่วนใหญ่อาการของสิวจะไม่รุนแรงนัก แต่สิวในบางคนอาการจะรุนแรงและอักเสบมาก ที่สำคัญคือ เมื่อสิวหายไปแล้วยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้ดูต่างหน้า บ้างก็เป็นแผลเป็น รอยดำ รอยบุ๋ม หรือรอยนูน

เนื่องจากสิว(Acne)เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน (sebaceous) ทำให้เรามักจะพบสิวในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า หน้าอก หลังส่วนบน คอ ไหล่ หรือต้นแขน โดยจะพบสิวได้หลายระยะทั้งสิวอุดตัน เช่น สิวหัวเปิดสีดำ หรือสิวหัวปิด ซึ่งจะเห็นเป็นหัวขาว ๆ อยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมาอาจจะกลายเป็นสิวอักเสบเห็นเป็นตุ่มแดง (papulonodular) ได้ บางคนถ้าการอักเสบมาก อาจพบเป็นตุ่มหนอง (pustule) หรือเป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังที่เรียกว่าสิวหัวช้าง (nodulocystic) ได้ด้วย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว ( Acne ) มีอยู่หลายประการ อย่างเช่น

  • HORMONE การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ โดยระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน จะมีระดับสูงในช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะเพศชาย ทำให้เราพบสิวในช่วงอายุนี้มากกว่าช่วงอื่น ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการสร้างไขมันออกมามากขึ้น และในขณะที่น้ำมันเดินทางจากต่อมไขมันสู่ปาก รูขุมขน เกิดไปผสมเข้ากับแบคทีเรียและเซลล์ผิวที่ตายแล้วซึ่งอยู่ในรูขุมขน ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนกลายเป็นสิวอุดตัน ระหว่างนั้นเม็ดเลือดขาวในร่างกายจะออกมากำจัดแบคทีเรีย ทำให้สิวอักเสบ เกิดเป็นตุ่มแดง บวม เจ็บ และเป็นหัวหนองในที่สุด สิว(Acne)อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างมีประจำเดือนผู้หญิงบางคน อาจมีสิวเห่อ มากขึ้นในระยะก่อนมีประจำเดือนได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการบวมของรูขุมขนและการคั่งของน้ำในร่างกาย หรือ โรคบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำ ในรังไข่ (polycystic ovary syndrome
  • FOOD เดิมเชื่อว่าอาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต หรือ อาหารมันๆ ทำให้เกิดสิว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีการศึกษาใดๆ ที่บ่งชี้ว่าอาหารเป็นสาเหตุของการเกิดสิว แต่ถ้าสังเกตว่าอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ทำให้อาการสิวอักเสบแย่ลง อาจลองหลีกเลี่ยงหรือหยุดรับประทานอาหารชนิดนั้นๆ แล้วสังเกตว่าอาการสิวอักเสบดีขึ้นหรือไม่
  • SKIN CARE การใช้เครื่องสำอางก็เป็นสาเหตุหนึ่งของสิว ดังนั้นในคนที่มีโอกาสเป็นสิวง่าย แนะนำให้พยายามใช้เครื่องสำอางให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน (oil-free) และควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าไม่ทำให้เกิดสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ (noncomedogenic และ non-acnegenic) นอกจากนี้การใช้สเปรย์หรือเจลบำรุงเส้นผม ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า
  • STRESS ความเครียดจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น
  • MEDICATION ยาบางอย่างเช่น สเตียรอยด์และลิเธียม มีรายงานว่าทำให้เกิดสิวได้ในบางคน
  • GENES กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดสิวด้วยเช่นกัน ถ้าพ่อแม่มีประวัติเป็นสิวในวัยรุ่น ลูกใน วัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะเป็นสิวด้วยเช่นกัน
dermaster-content-acne
สิวหัวดำ (Blackheads)

สิวประเภท สิวหัวดำ เป็นสิวอุดตันที่มีลักษณะตุ่มนูน จะเห็นเป็นจุดสีดำ ๆ ซึ่งที่เห็นเป็นจุดสีดำเกิดจากน้ำมัน ทำปฏิกิริยา oxidation กับออกซิเจนในอากาศ เปลี่ยนไขมันเป็นสีดำ จะพบบริเวณทีโซน คือ หน้าผาก จมูก และคาง 

วิธีการรักษา : ทายารักษาสิวแบบอุดตันโดยเฉพาะ ที่มีส่วนผสมของ Benzoyl Peroxide ซึ่งสามารถช่วยลดการอุดตันได้ เมื่อเปิดรูขุมขนได้ สิวอุดตันก็จะหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น และยังสามารถใช้การกดสิวร่วมด้วยค่ะ

สิวหัวขาว (Whiteheads)

สิวประเภท สิวหัวขาว จะเป็นสิวอุดตันที่หัวปิดอยู่ มีลักษณะเป็นตุ่มนูน เมื่อลองจับจะเป็นลักษณะเหมือนไตก้อนเล็ก ๆ ซึ่งสิวแบบนี้สามารถพัฒนาไปเป็นสิวอักเสบประเภทอื่น ๆ ได้ ซึ่งสิวแบบนี้สามารถเกิดได้จากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน เครื่องสำอาง รวมไปถึงสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน

วิธีการรักษา : หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง และ สกินแคร์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน และใช้ยาที่มีส่วนผสมอย่างTretinoin ยากลุ่มกรดวิตามินเอ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งาน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้

dermaster-content-acne02
dermaster-content-acne05
สิวเสี้ยน/สิวอุดตัน (Comedone)

สิวประเภท สิวเสี้ยน มีลักษณะเป็นเหมือนเสี้ยนเล็ก ๆ ตามรูขุมขน เกิดจากการสะสมของชั้นขี้ไคลร่วมกับการสะสมของขนอ่อนในรูขุมขนนั้น ทำให้เกิดเป็นสิวเสี้ยนสีขาว ๆ นั่นเองค่า สิวเสี้ยนสามารถเกิดได้ตามรูขุมขนขนาดใหญ่เช่น จมูก คาง หน้าผาก ระหว่างคิ้ว แผ่นหลัง ต้นแขน ต้นขา เป็นต้น

วิธีการรักษา : ควรล้างคราบเครื่องสำอางออกให้สะอาดหมดจด เลือกเครื่องสำอาง หรือ สกินแคร์ที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน แล้วเลือกใช้ยาทาที่ช่วยลดการอุดตัน เช่น ยาทาเบนซิล เพอร์ออกไซด์ หรือยาทาในกลุ่มกรดวิตามินเอ จะช่วยให้สิวเสี้ยนและสิวอุดตันหลุดออกได้ง่ายขึ้น ใช้ร่วมกับการกดสิว ควรพบแพทย์เพื่อเริ่มทายาอย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น หากใช้เยอะเกินไปอาจแพ้และระคายเคืองผิวได้

สิวที่มีตุ่มนูนแดง (Papule)

สิวแบบนี้มีลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดเล็ก ไม่มีหัวสิว แถมสิวแบบนี้ยังสามารถพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้ด้วยนะ สิวชนิดนี้เกิดจากแบคทีเรียที่ไปอุดตันรูขุมขน ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันของเรา เลยสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรียนี้ เลยทำให้เกิดตุ่มสิวนูนแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาได้จ้า

วิธีการรักษา : สิวที่มีตุ่มนูนแดง เขาจะไม่มีหัวสิวดังนั้นไม่สามารถกดออกได้ ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของ Benzoyl Peroxide ที่มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แล้วจากนั้นควรล้างหน้าให้สะอาด เลือกใช้สูตรที่อ่อนโยนต่อผิว หลีกเลี่ยงการสครับผิวหน้าออกไปก่อน เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองและอักเสบได้

dermaster-content-acne07
dermaster-content-acne03
สิวอักเสบ (Nodular Acne)

สิวประเภท สิวอักเสบ เมื่อจับแล้วจะรู้สึกเจ็บ สิวอักเสบอาจจะอยู่ได้นานหลายวัน และอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ สาเหตุเกิดจาก มีแบคทีเรียเข้าไปอยู่ในรูขุมขน บวกกับความมันบนผิว ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง ซึ่งมีลักษณะตุ่มสีแดง ไม่มีหัวสิว ขนาดใหญ่

วิธีการรักษา : สิวชนิดนี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากรักษาอย่างผิดวิธี อาจทำให้สิวอักเสบรุนแรงมากขึ้นแล้วอาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นได้

สิวหัวช้าง (Cystic Acne)

ดูจากชื่อก็รู้เลยว่าต้องใหญ่ที่สุดด โดยเริ่มแรกจะเกิดสิวตุ่มแดงเล็กแล้วเริ่มขยายใหญ่เป็นก้อนใหญ่ คล้ายซีสต์ และมีหนองอีกด้วย เกิดขึ้นได้จากการอักเสบอย่างรุนแรงบนผิวเมื่อสัมผัสจะทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก เชื่อว่าเป็นสิวที่ไม่มีใครอยากเป็นที่สุดในทั้งหมดนี้ 

วิธีการรักษา : เป็นสิวชนิดนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ด้านผิวหนังโดยเฉพาะ เพราะเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ และเกิดจากการอักเสบอย่างรุนแรง รักษาได้ยาก และอาจกลายเป็นแผลได้

dermaster-content-acne07

5 ความเชื่อและ 5 ความจริงเรื่องสิว

การดูแลสุขอนามัยที่ดีจะทำให้ลดการเกิดสิว 91.3% ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าการดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น การใช้สบู่ การดูแลความมันบนใบหน้าจะทำให้ลดการเกิดสิว FACT ยังไม่มีข้อสรุปที่บอกว่าการดูแลผิวพรรณให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดการเกิดสิวซ้ำร้ายหากการดูแลความสะอาดนั้นอาจทำให้เกิดสิวเพิ่มมากขึ้นด้วยหากดูแลผิดวิธียกตัวอย่างเช่น การใช้สบู่ที่มีฤทธิ์ในการชำระล้างที่สูงเกินไป การใช้มือถูนวดใบหน้ามากเกินไป

การล้างหน้าช่วยทำให้ลดการเกิดสิว 59.2% ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าการล้างหน้าบ่อยๆช่วยลดการเกิดสิว FACT การล้างหน้าที่มากเกินไปร่วมกับการขัดถูจะทำให้สิวแย่ลง โดยการกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดสิวอักเสบหรือรอยดำจากสิวขึ้นมาได้ เคยมีการทดลองเปรียบเทียบการรักษาสิวโดยแบ่งเป็นกลุ่มAพยายามรักษาสิวโดยทำให้ผิวแห้งที่สุด กลุ่มB รักษาตามปกติ กลุ่มC รักษาโดยพยายามหลีกเลี่ยงน้ำ ผลที่ได้คือ กลุ่ม Bและ C ให้ผลที่ดีกว่าการรักษาที่ทำให้ใบหน้าแห้ง

การแตะจับใบหน้าบ่อยๆมีผลทำให้สิวแย่ลงหรือไม่ 88.3%ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าการแตะจับใบหน้าบ่อยๆมีผลทำให้สิวลง FACT การแตะจับผิวหน้าบ่อยๆ เกิดการระคายเคืองของผิวหนังทำให้เกิดสิว เป็นความเชื่อที่ถูกต้องแต่หมอจะเพิ่มเติมคือการนวดหน้า ทำทรีตเมนท์ต่างๆทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน

การแกะสิวหรือกดสิว 85.4%เชื่อว่าทำให้สิวแย่ลง FACT ถูกต้องการแกะสิวและการกดสิวทำให้เกิดสิวและซ้ำร้ายยังทำให้มีรอยแผลเป็นจากสิวอีกด้วยฉะนั้นหลักการที่จะทำให้หัวสิวหลุดออกไปโดยเร็วที่สุดนั้นไม่ถูกต้อง หมอขอเสริมว่าการใช้น้ำกรดแต้มก็ไม่ได้ช่วยการรักษาสิว

การรับประทานอาหาร 69.9%เชื่อว่าอาหารบางอย่างทำให้เกิดสิว FACT ก่อนหน้านี้แพทย์บางส่วนไม่เชื่อว่าการทานอาหารมีผลต่อการเกิดสิว แต่ในปัจจุบันมีการรายงานอาหารที่เกิดสิวมากขึ้นส่วนมากเป็นอาหารของชาวตะวันตกที่มีส่วนผสมของนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเช่น เนย sherbet ครีมต่างๆ ปัจจุบันวัยรุ่นไทยก็นิยมอาหารFast food เค้ก ขนมปังมากขึ้นจึงทำให้อัตราเกิดสิวมากขึ้น

ติดตามข้อมูลข่าวสารและโปรโมชั่นของ DERMASTER ได้ทุกช่องทาง

📌 Facebook  : @dermasterthailand คลิ๊ก

📌 Instagram : dermaster_ คลิ๊ก

📌 Line Official : @dermaster คลิ๊ก

📌 ลงทะเบียนปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ : คลิ๊ก

แชร์ให้เพื่อน :

Add Line@

กำลังมองหาคำแนะนำ?