• 342 Ekamai Rd, Bangkok 10110
  • Mon - Sun: 09:00 - 20:00
  • 44/1 Asoke-Dindaeng Rd, Bangkok 10310
  • Mon-Sun: 11:00 - 19:00
  • 16/7 North Sathorn Rd, Silom, Bangkok 10500
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00
  • 1025 Ploenchit Rd, Lumpini, Bangkok 10330
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00
  • 1416 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวง คลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
  • Mon-Sun: 11:00 - 20:00

โปรแกรมตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker)

คุณกำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่ ?

ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
ผู้ที่มีความกังวลเรื่องสุขภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ
ผู้ที่ชอบกินอาหารทำลายสุขภาพ เช่น ของปิ้ง ย่าง ทอด ของหวาน เป็นประจำ
ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เล่นยา อย่างหนัก
ผู้ที่มีภาวะความเครียดตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆเพียงแค่คุณเลือกใช้ “โปรแกรมตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง”
problem-tumor-marker

แนะนำเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง

รู้ไหมว่า…ในการตรวจเลือดหามะเร็งนั้น เขาตรวจหาอะไรกัน?!

การตรวจเลือดชนิดต่างๆ เพื่อหามะเร็ง เช่น ตรวจ CEA, CA 15-3, Alpha-fetoprotein ฯลฯ ที่เราได้ยินจากโปรแกรมการตรวจเลือดต่างๆ นั้น เป็นการตรวจหา Tumor marker (สารบ่งชี้มะเร็ง) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารบ่งชี้มะเร็งเบื้องต้น ได้จากบทความ “ตรวจเลือดหามะเร็งได้จริงหรือ”

Tumor Marker ที่ควรรู้จัก Alpha-fetoprotein (AFP) เป็นแอนติเจนในกลุ่ม oncofetal antigen ซึ่งสร้างเป็นปกติ โดยเยื่อบุผิวของเซลล์ถุงไข่ (yolk sac), เซลล์ตับ และทางเดินอาหารของทารกในครรภ์มารดา มีระดับสูงสุดในเลือดประมาณสัปดาห์ที่ 13 ของทารกในครรภ์ หลังจากนั้นจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อใกล้คลอด จนมีระดับเท่าระดับปกติในผู้ใหญ่ภายใน 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด จึงพบ AFP สูงได้ (แต่เป็นภาวะปกติ) ในเด็กในครรภ์มารดา ทารกแรกคลอด และหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าทารกในครรภ์มีความผิดปกติในพัฒนาการของสมอง (neural tube defect) จะสามารถตรวจพบ AFP ในเลือดของมารดาและในน้ำคร่ำได้สูงกว่าระดับที่พบในหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากันถึง 2 – 3.5 เท่า คนทั่วไปจะตรวจพบ AFP ได้ในระดับต่ำๆ
โดย AFP มักมีค่าสูงกว่าปกติมากในผู้ป่วยมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) และมะเร็งของรังไข่ และ / หรือ อัณฑะชนิด embryonal cell carcinoma รวมทั้งยังอาจพบระดับสูงขึ้นได้ในมะเร็งปอด และมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร โดยระดับ AFP ที่ตรวจพบมักจะสัมพันธ์กับระยะของโรคมะเร็งด้วย นั่นคือ ในมะเร็งระยะต้นมักพบ AFP สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่จะสูงมากขึ้นเป็นลำดับในมะเร็งระยะท้าย
นอกจากนั้น ยังอาจพบ AFP สูงขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคตับอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่ระดับมักไม่สูงมากนัก AFP เป็น Tumor Marker ที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ตรวจหามะเร็งตับ ในกลุ่มที่เสี่ยง (high-risk population) ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis), ผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี (hepatitis B carrier), ผู้ป่วยโรคตับแข็ง (cirrhosis) เป็นต้น โดยแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3 – 6 เดือน และ / หรือ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasound) ของตับ

ทำไมต้องเลือกทำโปรแกรมตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง ที่ Dermaster?

Dermaster มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งง และด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทาง Dermaster มีได้ระดับมาตราฐานที่จะทำให้ผลการตรวจออกมามีการผิดพลาดน้อยที่สุด

why-dermaster-tumor-marker-1
why-dermaster-tumor-marker-2
why-dermaster-tumor-marker-3

ผลลัพธ์ที่ได้และระยะเวลา

Carcinoembryonic antigen (CEA)

เป็นแอนติเจนในกลุ่ม oncofetal antigen อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างเป็นปกติจากเซลล์ลำไส้ ตับ และตับอ่อนของทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 2 – 6 เดือน ในคนปกติสามารถตรวจพบ CEA สูงได้เล็กน้อยในคนที่สูบบุหรี่, หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน รวมทั้งในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร, ปอด, และตับ แต่ระดับมักไม่สูงมากนัก

CEA มักขึ้นสูงผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งรังไข่ ฯลฯ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะพบ CEA สูงได้มากและบ่อยกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ

Prostate specific antigen (PSA)

เป็นเอ็นไซม์ protease ชนิดหนึ่งซึ่งสร้างจากเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial cell) ของต่อมลูกหมากเป็นหลัก รวมทั้งสร้างได้ในเซลล์เยื่อบุท่อปัสสาวะ ( para-urethral gland) ดังนั้นจึงอาจพบ PSA ระดับต่ำๆ ในผู้หญิงได้เช่นกัน สามารถตรวจพบระดับ PSA สูงกว่าปกติได้ทั้งในมะเร็งต่อมลูกหมาก และภาวะต่อมลูกหมากโตที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign prostatic hyperplasia, BPH) PSA เป็น Tumor Marker อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ตรวจกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยแนะนำให้ตรวจ PSA ร่วมกับการตรวจคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (digital rectal examination) และควรเจาะเลือดตรวจก่อนดำเนินการตรวจทางทวารหนัก เนื่องจากการกระทำใดๆ ต่อต่อมลูกหมาก เช่น การกดคลำ จะทำให้มีการปลดปล่อย PSA ออกจากต่อมลูกหมากมากกว่าปกติ เป็นผลให้ระดับ PSA ขึ้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น

ในปัจจุบัน มีการตรวจเพิ่มเติมที่สามารถเพิ่มความจำเพาะต่อการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยไม่ลดความไวของการทดสอบลง ได้แก่ การตรวจ Free PSA : Total PSA ratio

CA 125

เป็นสารโปรตีน glycoprotein ซึ่งพบอยู่บนผิวของเซลล์ที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ตัวอ่อนทารกชนิด embryonic coelomic epithelium

CA 125 มักมีค่าขึ้นสูงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ชนิด non-mucinous type รวมทั้งมะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปอด, มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร, มะเร็งตับ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังอาจพบ CA 125 สูงกว่าปกติได้ในหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการอักเสบของช่องท้อง (peritonitis) และอวัยวะภายในช่องท้อง, ตับอ่อนอักเสบ (acute pancreatitis), ตับแข็ง (cirrhosis), การอักเสบของอวัยวะภายในช่องเชิงกราน (pelvic inflammatory disease)

CA 19-9

เป็นแอนติเจน carbohydrate antigen ที่สามารถตรวจพบได้ในเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งของระบบเดินอาหาร, มะเร็งตับ, มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม ฯลฯ CA 19-9 จัดเป็น Tumor Marker ที่ดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษา มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งของท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) นอกจากนี้ยังพบค่าสูงขึ้นได้ในโรคที่มีการอักเสบของตับ, ตับอ่อน, ท่อน้ำดี และถุงน้ำดี

CA 15-3

เป็นสารโปรตีน glycoprotein มีค่าสูงขึ้นได้ในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร, มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปอด, มะเร็งรังไข่ เป็นต้น

CA15-3 มักใช้ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจาย และการกลับเป็นใหม่ของโรคหลังการรักษา ไม่นิยมใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม

Beta-human chorionic gonadotropin (beta-HCG)

เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซึ่ง beta-HCG จะมีค่าขึ้นสูงในหญิงมีครรภ์ แต่จะสูงมากในผู้ป่วยครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy), ผู้ป่วยมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก (choriocarcinoma), มะเร็งของรังไข่ และ / หรือ อัณฑะ ชนิดteratogenic carcinoma รวมทั้งผู้ป่วยมะเร็งปอดบางรายก็สามารถตรวจพบ beta-HCG สูงเกินปกติได้ ในคนปกติจะใช้ beta-HCG เป็น Marker สำหรับตรวจสอบการตั้งครรภ์

Neuron-specific enolase (NSE)

เป็นเอ็นไซม์ glycolytic enzyme ชนิดหนึ่ง มักตรวจพบว่ามีค่าสูงกว่าปกติในมะเร็งที่มีกำเนิดมาจากเซลล์ในกลุ่มระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine) เช่น มะเร็งปอดชนิด small cell lung cancer, neuroblastoma และ pheochromocytoma NSE จัดเป็น Tumor Marker ที่ดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษา มะเร็งปอดชนิด small cell lung cancer ซึ่งเป็นมะเร็งปอดที่มีการพยากรณ์โรครุนแรง

…จะเห็นได้ว่า สารบ่งชี้มะเร็งหลายชนิด สามารถตรวจพบได้ในคนปกติ ขณะเดียวกัน ก็อาจไม่พบความผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็ง ดังนั้น การเลือกใช้และแปลผลเกี่ยวกับสารบ่งชี้มะเร็ง จึงจำเป็นต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และจะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

icon-1

Effect : -

icon-2

How long : 30-45 นาที

icon-3

How often : 12 เดือน

icon-4

Down time : ไม่ต้องพักฟื้น

กรณีศึกษา

ผลตอบรับจากลูกค้า

หลิน – มณชต สุวรรณมาศ
หลิน – มณชต สุวรรณมาศ

Coolsculpting คือตัวช่วยสำหรับคนที่ต้องการเผาผลาญส่วนเกินแต่มีเวลาน้อยอย่างหลินค่ะ

แชร์ให้เพื่อน :
พิงกี้ – สาวิกา ไชยเดช
พิงกี้ – สาวิกา ไชยเดช

พิงกี้ไว้ใจ ให้เดอมาสเตอร์ดูแลสุขภาพผิวทั้งภายนอกและจากภายในค่ะ

แชร์ให้เพื่อน :

DISCLAIMER: There’s no guarantee of specific results and that the results can vary (ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล)

ขั้นตอนในการรักษา

เรามีแพทย์และนักฟิสิกส์ที่ผ่านการรับรองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การวินิจฉัยตามความต้องการและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความงาม
01
Gradation Image
ส่งคำร้องขอ
สามารถส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ที่แผนกต้อนรับ
02
Gradation Image
ตรวจสุขภาพ
ทำการตรวจสอบสุขภาพของลูกค้าอย่างละเอียด
03
Gradation Image
ปรึกษาทีมแพทย์
จากผลการตรวจร่างกาย เราจะให้คำปรึกษาในการดำเนินการที่จำเป็น
04
Gradation Image
แผนการรักษา
ผู้ป่วยจะได้รับแผนการรักษาอย่างละเอียด
แชร์ให้เพื่อน :